เกร็ดความรู้เรื่องปฎิทิน

ระบบปฏิทินสากลซึ่งเป็นแบบสุริยคตินั้น จะใช้การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ในการกำหนด 1 ปี ใช้เวลาประมาณ 365. 25 วัน จึงแบ่งปีออกเป็น ปี อธิกสุรทินมี 366 วัน และ ปีปกติมี 365 วัน โดยทุก 4 ปีจะมีปีอธิกสุรทิน 1 ครั้งโดยประมาณ

ส่วนปฏิทินจันทรคติของไทยนั้น จะใช้การโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นเกณฑ์ กำหนดให้ 1 ปี มี 12 เดือน ในเดือนที่มีเลขคี่คือเดือน 1, 3, 5, 7, 9, 11 ให้มี 29 วัน(เรียกว่าเดือนขาด) และในเดือนคู่คือ 2, 4, 6, 8, 10, 12 ให้มี 30 วัน(เรียกว่าเดือนเต็ม) ใน 1 เดือน จะแบ่งเป็นข้างขึ้น 15 วัน และข้างแรม 14-15 วัน (ในเดือนขาดจะมีแค่แรม 14 ค่ำ ส่วนในดือนเต็มจะมีแรม 15 ค่ำ) รวม 1 ปีปกติจะมี 354 วัน ซึ่งทำให้ต่างจากปีทางสุริยคติถึง 11 วัน ดังนั้นจะต้องมีการปรับปฎิทินเป็นระยะ เพื่อที่จะไม่ทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำกัน โดยจะแบ่งประเภทปีออกเป็น 3 แบบ

   1. ปกติมาส มี 354 วัน
   2. อธิกมาส มี 384 วัน โดยปีนั้นจะมีเดือน 8 ซ้ำ 2 หน
   3. อธิกวาร มี 355 วัน โดยในเดือน 7 จะมีแรม 15 ค่ำ

ทุกๆ 19 ปีจะมีอธิกมาส ประมาณ 7 ปี และอธิกวาร ประมาณ 3 ปี(ไม่แน่นอน)

ในอดีตการบันทึกประศาสตร์ของไทย จะบันทึกเป็นแบบจันทรคติ จึงทำให้เกิดปัญหาในการหาว่า จะเป็นวันในทางสุริยคติวันที่เท่าไรแน่ เช่นประวัติศาสตร์บันทึกว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพในวันพฤหัสบดี เดือน6 แรม 2 ค่ำ จ.ศ. 946 พ.ศ. 2127 ดังนั้นถ้าต้องการรู้ว่าเป็นวันที่เท่าไรก็จะต้องมานั่งคำนวนกันวุ่นวาย

แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้วสามารถป้อนข้อมูลเทียบหาได้เลยที่นี่ที่เดียวในโลก (โม้) ที่ Payakorn.com เราได้สร้างโปรแกรมคำนวนเปรียบเทียบวันทางสุริยคติ และจันทรคติให้ใช้แล้ว สามารถใช้ได้ตั้งแต่ปี 2126 จนถึงปี 2584


ตรวจสอบวันเดือนปีจากปฎิทินสุริยคติ
วันที่
เดือน ปี พ.ศ.

ตรวจสอบวันเดือนปีจากปฎิทินจันทรคติ
ขึ้นแรม
ค่ำ
เดือน ปี พ.ศ.


วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2567

ตรงกับวันอังคาร

ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ จ.ศ.1385




ปีนักษัตรเรายึดถือแบบโบราณ คือจะเปลียนในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 หรือประมาณเดือน มีนาคม ของทุกปี

©Copyright ? 2004-2008 Payakorn.com All rights reserved.