ธาตุที่สำคัญมีอยู่สี่ประการด้วยกันคือ
ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุลม และธาตุน้ำ ธาตุไฟกับธาตุลมจัดไว้เป็นธาตุอกุศลธาตุ ธาตุดินกับธาตุน้ำเป็นกุศลธาตุ
ธาตุทั้งสี่เข้าครองในภูมิพยากรณ์ทั้งแปดในลักษณะที่สลับกันระหว่างกุศลธาตุ และอกุศลธาตุ
โดยเริ่มจากธาตุไฟคลองทิศอิสาน ธาตุดินครองทิศบูรพา ธาตุลมครองทิศอาคเณย์ ธาตุน้ำครองทิศทักษิณ
เรียงสลับกันไปตามลักษณะทักษิณาวัตร
บรรดาดาวพระเคราะห์ที่ครองอยู่ตามภูมิพยากรณ์ทั้งแปด
ก็จะครองธาตุที่ประจำอยู่ตามภูมิพยากรณ์นั้น ๆ คือ อาทิตย์ครองธาตุไฟ จันทร์ครองธาตุดิน
อังคารครองธาตุลม พุธคลองธาตุน้ำ เสาร์ครองธาตุไฟ พฤหัสบดีครองธาตุดิน ราหูครองธาตุลม
และศุกร์ครองธาตุน้ำ ดาวเคราะห์ที่ครองธาตุเดียวกันเรียกว่า ดาวคู่ธาตุ
สุริชะธาตุไฟกำหนดให้มีกำลังเท่ากับ
๑๒ อมฤตะ ธาตุน้ำ มีกำลัง ๑๖ ปาปะธาตุลมมีกำลัง ๒๒ โกลีธาตุดินมีกำลัง ๓๐ รวมกันแล้วมีกำลัง
๘๐ เรียกว่า อสีติธาตุ
อาทิตย์กับเสาร์คู่ธาตุไฟ
เข้าครองในราศีเมษธาตุไฟ
พุธกับศุกร์คู่ธาตุน้ำ
เข้าครองในราศี กรกฎ ธาตุน้ำ
อังคารกับราหู
คู่ธาตุลม เข้าครองในราศีตุลย์ ธาตุลม
จันทร์ กับพฤหัสบดี
คู่ธาตุดิน เข้าครองในราศีมังกร ธาตุดิน
ดาวพระเคราะห์ครองธาตุตามหลักโหราศาสตร์
ในหลักวิชาโหราศาสตร์
ได้แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒ ราศี และจัดดาวพระเคราะห์เข้าครองเป็นเกษตรทั้ง ๑๒ ราศี
และมีการจัดให้ธาตุทั้งสี่เข้าครองทั้ง ๑๒ ราศี โดยวิธีเดียวกันกับที่จัดวางในภูมิพยากรณ์
คือให้กุศลธาตุอยู่สลับกับอกุศลธาตุ เมื่อนับตามอุตราวรรต (เวียนซ้าย) จะเป็นดังนี้
ราศีเมษธาตุไฟ
ราศีพฤศภ ธาตุดิน ราศีเมถุนธาตุลม ราศีกรกฎธาตุน้ำ ราศีสิงห์ธาตุไฟ ราศีกันย์ธาตุดิน
ราศีตุลย์ธาตุลม ราศีพิจิกธาตุน้ำ ราศีธนูธาตุไฟ ราศีมังกรธาตุดิน ราศีกุมภ์ธาตุลม
และราศีมีนธาตุน้ำ
ราศีที่มีอิทธิพลในภาคกลางวันได้แก่
ราศีสิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู และราศีมังกร
ราศีที่มีอิทธิพลในภาคกลางคืนได้แก่
ราศี กุมภ์ มีน เมษ พฤษภ เมถุน และราศีกรกฎ
คู่มิตร คู่ศัตรู ตามตำนานชาติเวร
การแบ่งดาวพระเคราะห์เป็น
คู่มิตร คู่ศัตรู ตามหลักวิชาหมอดู กำหนดตามตำนานชาติเวรของดาวพระเคราะห์ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์เฉลิมไตรภพ
มีดังนี้
ดาวที่เป็นคู่มิตรคือ
อาทิตย์กับพฤหัสบดี จันทร์กับพุธ ศุกร์กับอังคาร และราหูกับเสาร์
ดาวที่เป็นคู่ศัตรูคือ
อาทิตย์กับอังคาร พุธกับราหู ศุกร์กับเสาร์ และจันทร์กับพฤหัสบดี
คู่มิตร คู่ศัตรู ตามหลักโหราศาสตร์
ดวงมูลตรีโกณหรือมูลเกษตร
เป็นตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ที่ให้คุณ เพราะเป็นดาวในตำแหน่งเกษตรนั่นเอง ยกเว้นจันทร์ไปครองตำแหน่งอุจจ์ในราศีพฤกษภ
ตำแหน่งมูลเกษตรเป็นที่เกิดของดาวพระเคราะห์คู่มิตรคู่ศัตรู ตามหลักโหราศาสตร์
ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ปาริชาติชาดก ซึ่งแสดงไว้ว่า
อาทิตย์ราศีสิงห์
จันทร์ราศีพฤกษภ อังคารราศีเมษ พุธราศีกันย์ พฤหัสบดีราศีธนู ศุกร์ราศีตุลย์ เสาร์ราศีกุมภ์
เรียกว่าได้ตำแหน่งมูลตรีโกณ หรือมูลเกษตร
การกำหนดดาวพระเคราะห์ที่เป็นคู่มิตรคู่ศัตรูกันนั้น
กำหนดจากตำแหน่งที่เป็นมูลตรีโกณของดาวพระเคราะห์นั้น ๆ พิจารณาจากเจ้าเรือนเกษตรของภพที่สอง
สี่ ห้า แปด เก้า และภพที่สิบสอง พร้อมทั้งดาวพระเคราะห์ที่เป็นเจ้าเกษตร ราศีอุจจ์ของดาวในตำแหน่งมูลตรีโกณ
ดาวพระเคราะห์เกษตรในตำแหน่งดังกล่าวจะเป็นคู่มิตรกับดาวนั้น บอกจากนั้นแล้วเป็นศัตรูทั้งสิ้น
สรุปได้ดังนี้
ดาวอาทิตย์ เป็นมิตรกับจันทร์
อังคารและพฤหัสบดี เป็นกลางกับพุธ เป็นศัตรูกับศุกร์ และเสาร์
ดวงจันทร์ เป็นมิตรกับอาทิตย์
และพุธ เป็นกลางกับอังคาร และพฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ไม่เป็นศัตรูกับดาวอื่น
ดาวอังคาร เป็นมิตรกับอาทิตย์
จันทร์ และพฤหัสบดี เป็นกลางกับศุกร์และเสาร์ เป็นศัตรูกับพุธ
ดาวพุธ เป็นมิตรกับอาทิตย์
และศุกร์ เป็นกลางกับอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ เป็นศัตรูกับจันทร์
ดาวพฤหัสบดี เป็นมิตรกับอาทิตย์
จันทร์ และอังคาร เป็นกลางกับเสาร์ เป็นศัตรูกับพุธ และศุกร์
ดาวศุกร์ เป็นมิตรกับพุธและเสาร์
เป็นกลางกับอังคาร และพฤหัสบดี เป็นศัตรูกับอาทิตย์ และจันทร์
ดาวเสาร์ เป็นมิตรกับศุกร์
และพุธ เป็นกลางกับพฤหัสบดี เป็นศัตรูกับอาทิตย์ จันทร์ และอังคาร