เกร็ดความรู้เรื่องปฎิทิน

ระบบปฏิทินสากลซึ่งเป็นแบบสุริยคตินั้น จะใช้การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ในการกำหนด 1 ปี ใช้เวลาประมาณ 365. 25 วัน จึงแบ่งปีออกเป็น ปี อธิกสุรทินมี 366 วัน และ ปีปกติมี 365 วัน โดยทุก 4 ปีจะมีปีอธิกสุรทิน 1 ครั้งโดยประมาณ

ส่วนปฏิทินจันทรคติของไทยนั้น จะใช้การโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นเกณฑ์ กำหนดให้ 1 ปี มี 12 เดือน ในเดือนที่มีเลขคี่คือเดือน 1, 3, 5, 7, 9, 11 ให้มี 29 วัน(เรียกว่าเดือนขาด) และในเดือนคู่คือ 2, 4, 6, 8, 10, 12 ให้มี 30 วัน(เรียกว่าเดือนเต็ม) ใน 1 เดือน จะแบ่งเป็นข้างขึ้น 15 วัน และข้างแรม 14-15 วัน (ในเดือนขาดจะมีแค่แรม 14 ค่ำ ส่วนในดือนเต็มจะมีแรม 15 ค่ำ) รวม 1 ปีปกติจะมี 354 วัน ซึ่งทำให้ต่างจากปีทางสุริยคติถึง 11 วัน ดังนั้นจะต้องมีการปรับปฎิทินเป็นระยะ เพื่อที่จะไม่ทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำกัน โดยจะแบ่งประเภทปีออกเป็น 3 แบบ

   1. ปกติมาส มี 354 วัน
   2. อธิกมาส มี 384 วัน โดยปีนั้นจะมีเดือน 8 ซ้ำ 2 หน
   3. อธิกวาร มี 355 วัน โดยในเดือน 7 จะมีแรม 15 ค่ำ

ทุกๆ 19 ปีจะมีอธิกมาส ประมาณ 7 ปี และอธิกวาร ประมาณ 3 ปี(ไม่แน่นอน)

ในอดีตการบันทึกประศาสตร์ของไทย จะบันทึกเป็นแบบจันทรคติ จึงทำให้เกิดปัญหาในการหาว่า จะเป็นวันในทางสุริยคติวันที่เท่าไรแน่ เช่นประวัติศาสตร์บันทึกว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพในวันพฤหัสบดี เดือน6 แรม 2 ค่ำ จ.ศ. 946 พ.ศ. 2127 ดังนั้นถ้าต้องการรู้ว่าเป็นวันที่เท่าไรก็จะต้องมานั่งคำนวนกันวุ่นวาย

แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้วสามารถป้อนข้อมูลเทียบหาได้เลยที่นี่ที่เดียวในโลก (โม้) ที่ Payakorn.com เราได้สร้างโปรแกรมคำนวนเปรียบเทียบวันทางสุริยคติ และจันทรคติให้ใช้แล้ว สามารถใช้ได้ตั้งแต่ปี 2126 จนถึงปี 2584


ตรวจสอบวันเดือนปีจากปฎิทินสุริยคติ
วันที่
เดือน ปี พ.ศ.

ตรวจสอบวันเดือนปีจากปฎิทินจันทรคติ
ขึ้นแรม
ค่ำ
เดือน ปี พ.ศ.


วันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2566

ตรงกับวันอังคาร

ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีเถาะ จ.ศ.1385




ปีนักษัตรเรายึดถือแบบโบราณ คือจะเปลียนในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 หรือประมาณเดือน มีนาคม ของทุกปี

©Copyright ? 2004-2008 Payakorn.com All rights reserved.