โหราศาสตร์คืออะไร
จรรยาบรรณโหร
การผูกดวง
ดาราศาสตร์แบบไทยๆ
เมื่อโลกเป็นศูนย์กลาง
ดูดาวเคราะห์จากจักรราศี
Horoscope
ตำนานดาวพระเคราะห์
จักรราศีวิภาค
คู่ธาตุ คู่มิตร คู่ศัตรู
ลัคนาและดวงชะตา
ดาวเกษตร ปรเกษตร
ดาวอุจ ดาวนิจ
มหาจักร ราชาโชค

สืบค้นข้อมูล
คำค้น

เกร็ดความรู้ด้านโหราศาสตร์ ที่เรารวบรวมนั้น บ้างก็มาจากเวปไซค์ต่างๆ จากตำราโหราศาสตร์ไทยบ้าง พยายามเขียนเองบ้าง เรียบเรียงใหม่บ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไทย ได้มีความเข้าใจ เกี่ยวกับศาสตร์นี้อย่างถูกต้อง มากขึ้น ขออภัยที่ไม่สามารถ แจ้งแหล่งที่มาได้

:: ดาราศาสตร์แบบไทยๆ ::
คำว่า "ดารา" คือเรื่องเกี่ยวกับดวงดาว ดาราศาสตร์ เป็นวิชาการที่ว่าด้วยเหตุอันเกิดจากดาว (Astronomy) ส่วนคำว่า "โหรา" เป็นคำสันสกฤต ตรงกับภาษาละตินว่า Hora ซึ่งมีความหมายถึง เวลา วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณเวลา(Astrology)

ความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ หรืออิทธิพลของดวงดาวที่มีต่อมนุษย์โลกมีมานานแล้ว มีมาในทุกชาติทุกภาษา เราจะเห็นได้ชัดว่าสมัยพุทธกาลก็มีการกล่าวถึง วันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับดวงดาว หรือแม้แต่วันมาฆะบูชา ก็เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับดวงดาวทั้งสิ้น

ในประเทศจีนมีการใช้ปฏิทินมานานกว่าสามพันปี มีการคำนวณแนวทางเดินของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทำให้ทราบวันที่จะเกิดสุริยุปราคา หรือจันทรุปราคาได้ก่อน และถูกต้องแม่นยำ และที่สำคัญคือทุกประเทศ ทุกชาติ มีตำนานเกี่ยวกับจักรราศี และใช้จักรราศีเหมือนกัน

ด้วยการสังเกตและเฝ้าติดตามดวงดาว โดยเฉพาะดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โดยผู้สังเกตอยู่บนโลกทำให้มีการพัฒนาศาสตร์ทางคณิตศาสตร์ให้ก้าวหน้าได้มาก สามารถคิดหลักการทางด้านตรีโกณมิติ โดยดูจากทรงกลมฟากฟ้า ใช้ในเรื่องการคำนวณหาค่าตัวเลขธรรมชาติหลาย ๆ ตัวเช่น พาย () ค่าซายน์ (sin) คอส (cos) แทน (tan) เป็นต้น

ตำแหน่งของดาวเคราะห์และดวงดาวทั้งหลายรวมทั้งดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ปรากฏอยู่ในแผนที่ดาวที่นักโหราศาสตร์คิดคำนวณจากปฏิทินโหราศาสตร์ และนำมาใส่ไว้ เกิดเป็นคัมภีร์ดาราศาสตร์ไทยขึ้นมาเรียกว่า "คัมภีร์สุริยยาตร์" หากแปลตรงตัวก็หมายถึง ตำราที่ว่าด้วยการคำนวณการโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งที่จริงในคัมภีร์จะมีสูตรในการคำนวนวงโคจรของดาวทั้ง 7 ดวง โดยใช้เพียงการบวก ลบ คูณ หาร ธรรมดาเท่านั้นเอง แต่สามารถบอกถึงตำแหน่งดาวบนท้องฟ้าได้อย่างแม่นยำ เป็น องศา ลิปดา เลยทีเดียว ทำให้สามารถคำนวนหาปรากฏการณ์สุริยุปราคา หรือจันทรุปราคา ได้ ตามประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ใช้เพียงคัมภีร์สุริยยาตร์ และคัมภีร์สารัมภ์ (คัมภีร์อีกเล่มซึ่งพัฒนาจากหลักการเดียวกัน) สามารถคำนวนปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่ ต.หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

ยกตัวอย่างการคำนวนตำแหน่ง วันที่ 16 เมษายน 2531 วันเสาร์ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง จ.ศ. 1350 หากเขียนแผนที่ดาวในรูปแบบดาวที่ใช้ในทางโหราศาสตร์จะได้รูปวงกลมที่แบ่งออกเป็นส่วนรอบ ๆ 12 ส่วน และมีสี่เหลี่ยมกลาง

ตำแหน่งดาวต่าง ๆ ปรากฏอยู่บนแผนภาพ โดยถือว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลาง หรือที่เรียกว่า Geocentric Measuement

ตำแหน่งของดาวจะโคจรเสมือนโคจรรอบโลก ทั้งนี้เพราะจุดสังเกตคือเราอยู่บนพื้นโลก ซึ่งคิดว่าคงที่ โดยดูการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ซึ่งเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักรราศี

ดังนั้นหากท่านต้องการดูดาว ณ. เวลานี้ ลองกลับไปหน้าแรกแล้วดูที่สัมผุสดาว ณ.เวลานี้ แล้วลองนึกภาพดูว่าขณะนี้ดวงอาทิตย์(ดาว 1) อยู่ตรงไหนแล้วลองเทียบดูดาวอื่นๆ ว่าอยู่ตำแหน่งใด (ลองดูที่ดาวศุกร์, ดวงจันทร์ หรือ ดาวอังคาร ซึ่งพอจะมองเห็นด้วยตาเปล่า) จะพบว่าเราสามารถใช้ดูดาวได้จริงๆ

นี่แหละ วิชาดาราศาสตร์แบบไทยๆ